วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ลักษณะเฉพาะในการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลหญิง


ลักษณะเฉพาะในการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลหญิง


ในการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลปัญหาที่ผู้ฝึกสอนที่เพิ่งเริ่มคุมทีมมักจะพบบ่อยมักจะเป็นเรื่อง วันนี้จะซ้อมอะไรดี ใช้แบบฝึกแบบไหน ทีมอื่นเขาฝึกกันอย่างไร หลายท่านเป็นผู้ฝึกสอนควบทั้งทีมหญิงและทีมชาย ใช้แบบฝึกเดียวกัน ฝึกซ้อมร่วมกัน ซึ่งผมขอแนะนำว่าเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างกันค่อนข้างมากสำหรับนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิง

หน้าที่ของผู้ฝึกสอนคือการพยายามทำทุกอย่างเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้เล่นให้ดีที่สุด เพื่อให้ได้รับชัยชนะจากการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนจะต้องวิเคราะห์รายละเอียดต่าง ๆ ปัจจัยต่าง ๆ ในกีฬาวอลเลย์บอล ลักษณะเฉพาะของวอลเลย์บอล ผู้ฝึกสอนต้องทราบและทำความเข้าใจว่า ความแตกต่างระหว่างทีมหญิงและชายมีหลายอย่าง เช่น ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางจิตวิทยา รูปแบบการเล่น ดังนั้นเมื่อมีความแตกต่างกันการฝึกซ้อม กระบวนการต่าง ๆ ย่อมแตกต่างกันด้วย ไม่สามารถนำรูปแบบการซ้อมของทีมชายไปใช้กับทีมหญิงหรือทีมหญิงไปใช้กับทีมชายได้ทั้งหมด จะต้องวิเคราะห์รายละเอียดต่าง ๆ เพื่อจัดกระบวนการฝึกซ้อมให้เหมาะสมกับประเภทของผู้เล่น


หยวน ไว มิน อดีตผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลทีมหญิงของทีมชาติจีนที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง ได้อธิบายลักษณะเฉพาะในการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลประเภททีมหญิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ฝึกสอนจะต้องสนใจดังนี้

1. การแสดงบทบาทผู้นำของผู้ฝึกสอน
แน่นอนว่าผู้ฝึกมีหน้าที่ต้องเป็นผู้นำทีม การแสดงบทบาทผู้นำของผู้ฝึกสอนทีมชายและทีมหญิงมีความแตกต่างกัน ด้วยลักษณะทางจิตวิทยาที่มีความแตกต่างระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง นักกีฬาหญิงนั้นมักไม่ค่อยแสดงความคิดริเริ่ม ไม่ค่อยแสดงความเห็นเกี่ยวข้องกับการฝึกซ้อมเท่านักกีฬาชาย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ฝึกสอนทีมหญิงต้องใช้ความพยายามอธิบาย ชี้นำในการฝึกซ้อมมากกว่าผู้ฝึกสอนทีมชาย
ปัญหาหนึ่งที่มักพบในทีมหญิงคือโดยลักษณะเฉพาะของเพศหญิงจะมีความอ่อนไหวเรื่องความรู้สึก เรามักพบว่ามักมีการแบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวกภายในทีม มักจะสนิทสนมกันในกลุ่มเล็ก ๆ บางครั้งเป็นจุดที่ทำให้ทีมเกิดปัญหา หน้าที่ของผู้ฝึกสอนจะต้องคอยดูแลสอดส่อง พึงระลึกว่าวอลเลย์บอลทีมหนึ่งมี 12 คน จะต้องพยายามหลอมรวมให้เปรียบเสมือนเป็นคน ๆ เดียวให้ได้มากที่สุด ความสามัคคีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ได้รับชัยชนะ
ดังนั้นผู้ฝึกสอนจึงมิใช่เพียงแต่สอนในเรื่องของเทคนิคเท่านั้น แต่จะต้องสั่งสอนให้นักกีฬาทั้งหมดมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันดียวกันให้ได้ด้วย


2. เริ่มฝึกซ้อมด้วยทักษะการป้องกัน
เกมวอลเลย์บอล การรุกทุกครั้งจะเริ่มต้นจากการตั้งรับทั้งสิ้น หากวิเคราะห์จากสถิติในเกมวอลเลย์บอลพบว่าการรุกแทบทั้งหมดมาจากการป้องกัน Defense จากสถิตินั้นระดับความเร็วของลูกตบในการแข่งขันประเภททีมชายมีต่าเฉลี่ยประมาณ 33 เมตรต่อวินาที หรือ 119 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ทีมหญิงความเร็วจะประมาณ 18 เมตรต่อวินาที หรือ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นโอกาสที่จะรับลูกตบในประเภททีมหญิงจะมีมากกว่า
ลูกเสริฟในทีมหญิงจะมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง มีสถิติที่น่าสนใจคือ ค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบความสูงของผู้เล่นเมื่อชูมือเหนือตาข่ายพบว่า นักกีฬาหญิงจะชูมือได้สูงกว่า (ความสูงตาข่ายทีมชาย 2.43 เมตร 2.28 เมตร) ด้วยเหตุนี้ทำให้การเสริฟของทีมหญิงจะมีประสิทธิภาพมาก จึงควรให้เวลากับการฝึกซ้อมทักษะการรับลูกเสริฟและทักษะที่เกี่ยวข้องให้มาก ทักษะการรับลูกเสริฟนั้นสร้างรูปแบบการเล่น การรับลูกเสริฟไม่ดี จะทำให้สร้างสรรค์เกมรุกยากหรืออาจทำให้เสียคะแนนได้ทันที


การเสริฟเกิดจากผู้เล่นเพียงคนเดียว โดยไม่มีคู่ต่อสู้ขัดขวาง การเสริฟที่ดีสามารถทำคะแนนได้ทันที ด้วนค่าเฉลี่ยความสูงที่นักกีฬาหญิงสามารถชูมือได้สูงใกล้เคียงขอบบนของตาข่ายสำหรับนักกีฬาไทย หรือสูงกว่าขอบบนตาข่ายหากเป็นนักกีฬาที่มีความสูง ถ้านักกีฬาสามารถเรียนรู้เทคนิคว่าจะมีวิธีการเสริฟอย่างไร การเสริฟจะมีประสิทธิภาพมาก ในปัจจุบันนักกีฬาหญิงมักนิยมการเสริฟลักษณะ jump float ซึ่งการเสริฟแบบนี้ทำให้ลูกบอลจะพุ่งข้าหาผู้รับในระดับอกซึ่งยากต่อการรับ

การสกัดกั้น เป็นกระบวนการแรกของการป้องกัน แต่โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการสกัดกั้นในการแข่งขันประเภททีมหญิงมีเพียง 20% เท่านั้น การสกัดกั้นที่ถือว่ามีประสิทธิภาพมี 3 ลักษณะคือ

1. Killing Block คือการสกัดกั้นที่สามารถหยุดการรุกของคู่ต่อสู้ทันทีและสามารถได้คะแนนจากการสกัดกั้น
2. Received Block คือการสกัดกั้นที่สามารถปิดบังส้นทางการรุกของคู่แข่ง ทำให้ผู้เล่นในทีมสามารถรับลูกตบจากการรุกได้
3. Saved Block คือการสกัดกั้นที่สามารถทำให้เพื่อนร่วมทีมนำบอลนั้นกลับมาเล่นได้ต่อ
ในการแข่งขันประเภททีมหญิง การสกัดกั้นลักษณะ saved block จะเกิดขึ้นมากที่สุดประมาณ 30% เมื่อใดที่ค่าเฉลี่ยการสกัดของทีมต่ำเราจะพบว่าผู้เล่นแดนหลังจะถูกโจมตีด้วยลูกตบอย่างหนักหน่วงซึ่งยากต่อการรับ นักกีฬาหญิงที่มีศักยภาพความสามารถสูงในการรับลูกตบโดยที่ไม่มีการสกัดกั้นอาจจะประสบความสำเร็จในการรับได้ถึง 60% ดังนั้นความสำคัญของการฝึกป้องกัน defense จึงเป็นรื่องที่ไม่ควรละเลยเป็นอันขาดในการฝึกซ้อมวอลเลย์บอลทีมหญิง

ด้วยกระบวนการป้องกันของทีมหญิงสามารถทำได้ง่ายกว่ากว่าทีมชายทำให้เกมวอลเลย์บอลหญิงจะมีความต่อเนื่องโอกาสที่เกิดการรุกโต้กลับ counter-attack จะมีมากกว่าทีมชาย

การรุกโจมตีโต้กลับ counter-attack มีพื้นฐานมากจากการสกัดกั้น block การรับลูกตบ dig การรองบอล cover การเซต set และการตบ spike ทุกส่วนมีความสำคัญทั้งสิ้น การผิดพลาดส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น รองบอลไม่ดี เซตไม่ได้ อาจจะทำให้กระบวนการทั้งหมดผิดพลาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมักจะพบว่านักกีฬาไม่ค่อยใส่ใจให้ความสำคัญกับรายละเอียดในทักษะเหล่านี้ เพราะมักคิดว่ามันง่ายกว่าการสกัดกั้นหรือรับลูกตบ มักพบบ่อย ๆ ว่าเมื่อสามารถรับลูกตบได้แล้วแต่ไม่สามารถรุกโต้กลับได้เพราะผิดพลาดในทักษะที่เห็นว่าเล็กน้อยเช่น การเซ็ตบอลไม่ดี ทำให้เสียโอกาสและอาจเสียคะแนนได้ ดังนั้นทักษะเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งหมดนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเล่นที่ต่อเนื่องของวอลเลย์บอลหญิง

วอลเลย์บอลเป็นกมที่อนุญาตให้ผู้เล่นสัมผัสบอลได้ในเวลาพียงเสี้ยววินาที แต่เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการเคลื่อนที่โดยที่ไม่มีลูกบอล จากสถิติที่มีการวิเคราะห์กันออกมาการเคลื่อนที่ที่เล่นบอลจะเกิดเพียง 20.75% โดยผู้เล่นตัวตบหลัก 21.72% ตัวเซต 25.55% ในขณะที่การเคลื่อนที่โดยไม่ได้เล่นบอลจะประมาณ 75-80%

ดังนั้นในการฝึกซ้อมผู้ฝึกสอนต้องสนใจฝึกซ้อมเรื่องการเคลื่อนที่โดยไม่มีลูกบอลและทักษะที่ต่อเนื่องในกระบวนการโต้กลับ


3. การเซต
การเซตคือกุญแจสำคัญ เป็นทักษะเชื่อมต่อในการเปลี่ยนสถานะจากการตั้งรับเป็นการรุกโต้กลับ counter-attack ผู้เล่นตัวเซตควรจะรุ้ว่าจะมีแนวทางการเล่นอย่างไร จังหวะในการเซต การหาจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้ามและพยายามมุ่งโจมตีบริเวณนั้น การเล่นวอลเลย์บอลสมัยใหม่นั้นผู้เล่นทุกคนควรจะมีทักษะการเซตที่ดี เพราะการรุกโต้กลับอาจจะไม่ใช่ผู้เล่นตัวเซตเป็นคนเซตบอล หากการเซตบอลมีประสิทธิภาพดี การรุกโต้กลับก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ในกระบวนการรุกโต้กลับ ผู้เล่นตัวเซตจะมีบทบาทมาก การเคลื่อนที่ของตัวเซตจะมากที่สุดในทีมประมาณ 90 % และอัตราการเคลื่อนที่ไปเซตบอลจะสูงถึง 64.7 % การฝึกซ้อมการเคลื่อนที่ของตัวเซตจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง
ผู้เล่นตัวเซตจะมีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการเปลี่ยนเสริฟ side out การช่วงชิงความได้เปรียบระหว่างฝ่ายเสริฟกับฝ่ายรับเสริฟในวอลเลย์บอลหญิงจะมีความเข้มข้นกว่าทีมชาย การเซตครั้งแรกจะเป็นการกำหนดเทคนิคการเล่นโดยตัวเซต ลักษณะการฝึกซ้อมที่จำเป็นอีกแบบหนึ่งคือ รูปแบบการฝึก Serve – pass – Set หลาย ๆ รูปแบบ
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ในเกมวอลเลย์บอลหญิง จะมีโอกาสเกิดการรุกโต้กลับมากกว่าทีมชาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการฝึกการเซตในสถานการณ์การรุกโต้กลับ ซึ่งการเซตจะยากกว่าจากการรับลูกเสริฟเพื่อทำการรุกครั้งแรก first attack ผู้เล่นตัวเซตต้องประสานงานกับเพื่อนร่วมทีมให้ดี จึงต้องฝึกเพื่อให้เกิดทักษะการประสานงานที่ดี

ในการฝึกผู้เล่นตัวเซต นอกจากการฝึกทักษะพื้นฐานต่าง ๆ แล้ว ยังต้องฝึกให้ตัวเซตมีวิสัยทัศน์ในการอ่านเกม มีปฏิกิริยาตอบสนองที่รวดเร็ว การตัดสินใจที่ดี และความสามารถในการนำเอาเทคนิคที่ผู้ฝึกสอนแนะนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องด้วย

4. การตบทำคะแนน และการสกัดกั้น
การตบและการสกัดกั้นเป็น 2 วิธีการหลัก ๆ ที่ใช้ทำคะแนนในการเล่นวอลเลย์บอล ด้วยเหตุที่นักกีฬาชาย มีพื้นฐานความแข็งแรง ความสามารถในการกระโดดสูง ตบบอลได้หนักหน่วงและมีความเร็วมาก การได้คะแนนส่วนใหญ่จึงมาจากการตบเมื่อเป็นฝ่ายรับเสริฟหรือ First Attack หรือเกิดจากการสกัดกั้นเมื่อเป็นฝ่ายเสริฟ Point Phase ในขณะที่ทีมหญิงมักจะมีการเล่นที่ต่อเนื่องไม่สามารถทำคะแนนได้ในการ firs attack การฝึกซ้อมทีมหญิงควรให้ความสำคัญเรื่องการรุกอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนกระบวนการจากรับเป็นรุกและจากรุกเป็นรับให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น